TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 หลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่นก
 

รหัสสินค้า 00527

ราคา :500,000.00 บ..
 

รายละเอียด

 

ประวัติพระครูวิหารกิจจานุการ

พระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงพ่อปาน โสนันโท เดิมชื่อ ปาน สุทธาวงษ์
บิดาชื่อนายอาจ มารดาชื่อ นางอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ที่บ้านตำบลบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับการขนานนามว่า “ปาน” 
เนื่องจากตั้งแต่แรกเกิดท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวเป็นปานสีแดงที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้ว
เมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “โสนันโท” หลวงพ่อปาน ศึกษาร่ำเรียนวิทยาการกับหลวงพ่อสุ่น ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาโรคภัยไข่เจ็บตลอดจนผู้ที่ถูกคุณไสยจนแตกฉาน จากนั้นจึงออกธุดงค์ ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิตย์
• หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.ปางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
• หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรบุรี ศิษย์รุ่นพี่สำนักหลวงพ่อเนียม
• อาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ด้านพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี
• พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระจนจบพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
นอกจากยังได้ศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณที่วัดสังเวชจนเชี่ยวชาญ หลังจากที่ท่านใช้เวลาในช่วงการศึกษาร่ำเรียนนานพอสมควรแก่เวลา
 

                   

หลวงพ่อปานจึงเดินทางกลับบ้านเกิดมาจำพรรษาที่วัดบางนมโค ตั้งสำนักสอนภาษาบาลีและนักธรรม ริเริ่มการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ และพัฒนาวัดบางนมโค จนเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างวัดทั้งหมดถึง 41 วัด มีการก่อสร้างโบสถ์ และศาสนวัตถุอื่นอีกมากมาย นับว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงมากจึงสามารถสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพระศาสนาได้มากถึงเพียงนี้

นอกเหนือจากการเป็นพระนักพัฒนาแล้วหลวงพ่อปาน ยังเป็นนักเทศน์ฝีปากเอกเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของบรรดาญาติโยมที่มารับฟังเทศน์ฟังธรรมยิ่งนัก ทางด้านการแพทย์ท่านก็สงเคราะห์รักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือถูกคุณไสยต่างๆ ตามวิชาการแพทย์แผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา ทั้งรักษาด้วยน้ำมนต์และรักษาด้วยสมุนไพร โดยมีการกำกับด้วยคาถาอาคมพลังจิตเพื่อให้เข้มขลัง

หลวงพ่อปานได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากชีปะขาว เมื่อราวปี พ.ศ.2446 ระหว่างที่ท่านฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมที่ศาลาไว้ศพที่วัดบางนมโค ด้วยวิธีพิจารณา “อศุภกรรมฐาน” คือการพิจารณาศพคนตายเพื่อปลงสังขาร ชีปะขาวเดินเข้ามาหาและบอกกล่าวให้ท่านการสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้านั่งสมาธิ มีรูปสัตว์ 6 ชนิดอยู่ใต้ที่ประทับคือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก โดยนิมิตเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งมีคาถากำกับในแต่ละชนิดมาด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ท่านอาจารย์แจง ซึ่งเป็นฆราวาสได้เดินทางมาจากนครสวรรค์เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อปานด้วยความเลื่อมใสในกิตติคุณมีการถ่ายทอดวิชาซึ่งกันและกัน หลวงพ่อปานได้ศึกษาวิชาที่ว่าด้วยการปลุกเสกพระเครื่องและสร้างพระตามตำรา “พระร่วงเจ้า” ที่ได้รับสืบทอดมา ซึ่งเป็นต้นแบบการสร้างพระของหลวงพ่อปานที่สำคัญที่สุดคือ “ยันต์เกราะเพชร” ยอดของธงมหาพิชัยสงคราม ก็ได้รับการถ่ายทอดมาในคราวนี้เช่นกัน และท่านนำมาใช้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวบ้านได้อย่างมากมายในโอกาสต่อมา หลวงพ่อปานได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระครูพิเศษ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2481 ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 8 สิริอายุรวม 63 ปี พรรษาที่ 42

วัดบางนมโคตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของลำน้ำแควน้อยซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า “วัดบางนมโค” นี้ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 ได้มาตั้งค่ายที่วัดสีกก กวาดต้อนผู้คนและวัวควายซึ่งมีมากในบริเวณนั้นมาใช้งาน จึง เรียกกันว่า “วังโค” หรือ “บ้านบางโค” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “บางนมโค” สืบมาจนปัจจุบัน ครั้งแรกตั้งเป็นชื่อตำบลแล้วนำมาใช้เป็นชื่อวัดในภายหลัง

 

การสร้างพระของหลวงพ่อปาน

นปี พ.ศ.2446 นั้น หลวงพ่อปานดำริที่จะหาปัจจัยมาการดำเนินการปรับปรุงเสนาสนะภานในวัดบางนมโคและจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม แล้วท่านก็ได้พบชีปะขาวและท่านอาจารย์แสงดังกล่าวมาแล้วท่านตัดสินใจสร้างพระเครื่องขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2450 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านอย่างเต็มที่ ผู้มีความรู้ทางช่างก็แกะแม่พิมพ์ถวาย บรรดาลูกศิษย์ก็ออกแสวงหาวัตถุมงคลต่างๆ มาให้ ทั้งว่านที่เป็นมงคลและมีสรรพคุณทางยา เกสรดอกไม้ที่เป็นมงคลนาม ดินขุยปูนา ตลอดจนพระพิมพ์โบราณที่ชำรุดแตกหัก เพื่อนำมาผสมเป็นเนื้อพระ พระพิมพ์ชุดนี้ศิลปะแม่พิมพ์ไม่สวยงามนักเนื่องจากเป็นช่างฝีมือชาวบ้าน เรียกกันว่า “พิมพ์โบราณ” สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2451 จำนวนการสร้างไม่มากนัก ผู้มีไว้บูชาก็หวงแหน จึงหาดูได้ยากยิ่งนัก จะมีเล่นหากันอยู่ก็คือ “พิมพ์ขี่เม่น” (สมัยก่อนเรียก “พิมพ์ขี่หมู” เพราะตัวเม่นมองดูคล้ายหมูมากว่า) และ “พิมพ์ขี่ไก่” ซึ่งจะมีขนาดเล็กและบางกว่าพิมพ์มาตรฐานมาก การอุดผงจะอุดขอบพระด้านล่าง และเนื้อขององค์พระค่อนข่างแกร่ง

ต่อมาจึงจัดหาช่างฝีมือดีมาแกะแม่พิมพ์ใหม่ศิลปะแม่พิมพ์จึงสวยงามขึ้นมาก เราเรียกกันว่า “พิมพ์นิยม” หรือ “พิมพ์มาตรฐาน” สร้างแจกในปี พ.ศ.2460 พร้อมมีสลากกำกับวิธีการใช้พระให้ด้วยนับเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องในปัจจุบัน สนนราคาเป็นหลักแสนทีเดียวของทำเทียนเลียนแบบก็เยอะ หาดูของแท้ๆ ยาก เช่นกันนอกจาก “พระหลวงพ่อปาน” ซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาแล้ว หลวงพ่อปานยังได้สร้างวัตถุมองคลอื่นๆ เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าอีกด้วย อาทิ ผ้ายันต์เกราะเพชร ลูกอม ตะกรุด และแหวนพระ

 

 

 

กรรมวิธีในการสร้างพระ

หลวงพ่อปานท่านกล่าวว่า หัวใจสำคัญในการสร้างพระก็คือ “ผงวิเศษ” ที่บรรจุอยู่ในองค์พระการทำ “ผงวิเศษหัวใจสัตว์” จะกระทำในพระอุโบสถโดยนั่งสมาธิเขียนอักขระเลขยันต์หัวใจของสัตว์ต่างๆ ทั้ง 6 ชนิดที่หลวงพ่อปานเห็นมาในนิมิตแล้วลบผงวิเศษนี้ออกมา หัวใจนี้ท่านมิได้ถ่ายทอดให้กับผู้ใดเพราะถือเป็นวาสนาเฉพาะบุคคล มีหลวงพ่อปานเป็นคนแรกที่ทำได้และเป็นคนสุดท้ายไม่มีการสืบทอด การทำผงพระนี้ยากมากต้องมีสมาบัติ 8 รูป สัตว์ทั้ง 6 ชนิด คือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก นั้น หากจะทำชนิดใดก็ต้องล็อกคาถาของสัตว์ชนิดนั้นมาทำผง เช่นจะทำพระขี่นก จะเอาผ้าขาวมาเสกให้เป็นนกแล้วกางปีกออก จะมีพระคาถาอยู่ในปีกแล้วล็อกพระคาถามาทำผง เมื่อได้ผงมาก็ต้องนั่งปลุกเสกในโบสถ์ อดข้าว 7 วัน 7 คืน ออกไปไหนไม่ได้เลยต้องเข้าสมาบัติตลอดขณะที่ปลุกเสกพระอยู่ในโบสถ์ จะมีการตั้งบาตรน้ำมนต์ไว้สี่มุม เวลาบริกรรมคาถาบรรดาคุณไสยต่างๆ ที่มีผู้กระทำมาในอากาศก็จะกระทบกับพระเวทย์ของหลวงพ่อปาน แล้วร่วงหล่นสู่บาตน้ำมนต์ มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นการตัดไม้ข่มนามพวกคุณไสย ผงวิเศษนี้จึงสามารถป้องกันคุณไสยได้

ผงวิเศษสูตรที่ 2 หลวงพ่อปานท่านใช้ “ผงวิเศษจากยันต์เกราะเพชร” โดยตั้งสมาธิเขียนยันต์บนกระดานชนวน แล้วชักยันต์ขึ้นแล้วลบผงมา ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างสูงเพราะต้องใช้เวลายาวนานมากกว่าจะลบผงออกมาได้และต้องถูกต้องทุกขั้นตอนตามที่ตำราระบุไว้จึงจะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์

ผงวิเศษสูตรสุดท้ายคือ “ผงวิเศษ 5 ประการ” ประกอบด้วย ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนสิงเห และผงพระพุทธคุณ อันเป็นยอดของผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังฯ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ และพระปิลันทน์ วัดระฆังฯ ใช้เป็นส่วนผสมในเนื้อมวลสารของพระเครื่องที่ท่านสร้าง อันทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

หลวงพ่อปานใช้เวลาทำอยู่ตลอดพรรษาจนมีจำนวนมากพอผงวิเศษที่ได้มาทั้งหมดนี้ นับเป็นผงที่มีพุทธคุณเอกอนันต์ใช้งานสารพัดอย่างเป็นเลิศเรียกว่าเป็น “กฤตยาคมแฝด” ที่พระพิมพ์อื่นๆ ไม่มีขั้นตอนการสร้างองค์พระหลวงพ่อปานจะนำดินขุยปูและดินนวลหรือดินเหนียวในทุ่งนาที่ขุดลงไปค่อนข้างลึกเพื่อให้ได้เนื้อดินที่ละเอียดซึ่งชาวบ้านหามาให้นั้น มากรองบดและนวด ให้เนื้อดินเหนียวและเนียน จากนั้นแบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ นำไปกดกับแม่พิมพ์พระที่เตรียมไว้วิธีการนำพระออกจากแม่พิมพ์ของหลวงพ่อปานก็แตกต่างจากพระคณาจารย์ท่านอื่น คือจะใช้ไม้ไผ่เหลาให้ปลายแหลมๆ แล้วเสียบที่ด้านบนเศียรพระงัดพระออกจากพิมพ์ ซึ่งจะเกิดเป็น “ร” เพื่อบรรจุ “ผงวิเศษ” 

ดังนั้นขนาดและรูปทรงของรูจะไม่มีมาตรฐานแน่นอน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ยาวบ้างสั้นบ้าง หรือเหลี่ยมบ้างกลมบ้าง แล้วหลวงพ่อก็จะนำพระที่กดพิมพ์เรียบร้อยไปบรรจุในบาตรจำนวนพอสมควร นำมาสุมด้วยแกลบจุดไฟเผาจนพระสุกแดงได้ที่จึงลาไปออก ปล่อยไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาบรรจุ “ผงวิเศษ” ลงในรูจนเต็ม ใช้ซีเมนต์ผสมปิดทับอีกทีหนึ่งเมื่อแห้งจะทนทานมาก บริเวณที่อุดนี้จะเป็นสีเทาของซีเมนต์ผสมกับสีขาวของผงวิเศษทุกองค์ อันเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งพิธีปลุกเสกพระทำในพระอุโบสถ หลวงพ่อปานท่านจะตั้งบายศรีราชวัตรฉัตรธง หัวหมู ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เมื่อปลุกเสกครบไตรมาส

หลวงพ่อจะย้ายกลับมาปลุกเสกที่กุฎิของท่านต่อทุกคืนจนถึงวันไหว้ครูประจำปีของท่าน แล้วจะตั้งพิธีเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า “ต้องอาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระปัจเจกะพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยสาวกทุกองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย การชุมนุมบวงสรวงเช่นนี้ประเดี๋ยวก็เสร็จไม่ต้องถึงสามเดือนอย่างที่แล้วมา จงจำไว้ว่าการจะปลุกเสกพระหรือผ้ายันต์อะไรก็ตาม ถ้าจะอาศัยอำนาจของเราอย่างเดียวไม่ช้าก็เสื่อม เราน่ะมันดีแคไหน การทำตัวเป็นคนเก่งน่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องให้พระท่านเก่ง พระพุทธท่านเก่ง พระธรรมท่านเก่ง พระสงฆ์ท่านเก่ง เทวดาท่านเก่ง พระพรหมท่านเก่ง ท่านมาช่วยทำประเดี๋ยวเดียวก็เสร็จดีกว่าเราทำตั้งพันปีเราต้องการให้ท่านช่วยอะไรก็บอกไป ของที่ทำจะคุ้มครองผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองได้ทุกคนถ้าหากพระก็ดี พระพรหมก็ดี เทวดาก็ดี ท่านช่วยคุ้มครองให้ ท่านก็มองเห็นถนัด คุ้มครองได้ถนัดและจำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้านำของนั้นไปใช้ในทางทุจริตคิดมิชอบก็ไม่มีอะไรจะคุ้มครองได้ ที่เป็นคนเลวอยู่แล้วก็ช่วยพยุงให้เลวน้อยหน่อย ต้องช่วยตัวเองด้วยไม่ใช่จะคอยพึ่งผ้ายันต์หรือพระ ถ้าดีอยู่แล้วก็ช่วยให้ดียิ่งขึ้น นี่เป็นกฎของอำนาจพระพุทธบารมี พระธรรมบารมี พระสังฆบารมี ตลอดจนพระพรหมและเทวดาทั้งหลาย...

 

 

 

 

วิธีสังเกตพระหลวงพ่อปาน

 

พุทธลักษณะ
พระหลวงพ่อปานเป็นพระทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจียนมุมทั้ง 4 ด้าน ส่วนบนเป็นพระพุทธรูปนั่งแสดงปางสมาธิอยู่เหนือฐานบัลลังก์ก็มี ฐานเขียงก็มีฐานผสมก็มี รูปกลีบบัวมีทั้งชั้นเดียว 2 ชั้น บัวเม็ด และบัวตุ่มด้านข้างพระประธานทั้ง 2 ข้าง จะมีอักขระขอมตัวนูนข้างละ 2 ตัว คือ มะ อะ อุ อุ อันเป็นยอดพระคาถาหัวใจพระไตรปิฎก “ตรีเพชร” มีอานุภาพทางป้องกันอันตรายและคงกระพันชาตรี

ส่วนด้านล่างไต้ฐานขององค์พระลงมาเป็นรูปสัตว์พาหนะ 6 ชนิด คือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก ในลักษณะแบกฐานขององค์พระปฏิมาเหาะเหินสู่เบื้องบน จะสังเกตได้จากเท้าของสัตว์หรือครีบของปลาจะจรดขอบล่างขององค์พระพอดี

 

 

 

 

สีขององค์พระ

 

เนื่องจากพระหลวงพ่อปานเป็นพระเนื้อดินเผาสีขององค์พระพื้นๆ ก็คือ สีอิฐ หรือสีหม้อใหม่ แต่ที่พบเห็นสีจะค่อนข้างซีดจนถึงออกเป็นสีชมพูอ่อนๆ

เนื่องด้วยองค์พระผ่านกาลเวลาและการใช้การสัมผัสมายาวนาน สีจึงซีดจางลงเรื่อยๆเนื้อขององค์พระเนื้อดินที่นำมาสร้าง “พระหลวงพ่อปาน” เป็นดิน ขุยปูและดินนวลตามทุ่งนา มีความละเอียดปานกลางเนื้อขององค์พระจะมีลักษณะดังนี้

• มีเม็ดทรายเล็กๆ อยู่ทั่วผิวขององค์พระทุกองค์มากน้อยแตกต่างกันไป เม็ดทรายเม็ดใหญ่ปะปนอยู่น้อยมากเนื่องจากหลวงพ่อปานให้นำดินขุยปูมาร่อนในตะแกรงก่อนสำหรับพระที่ไม่ผ่านการใช้เม็ดทรายเล็กๆ จะโผล่เสมอผิวแบบไม่เต็มเม็ดมากนัก แต่ถ้าพระที่ผ่านการใช้มานานจนเกิดการเสียพื้นผิวไป เม็ดทรายเล็กๆ นี้ก็จะโผล่ขึ้นมาเต็มเม็ดเสมอผิดขององค์พระ และจะมีเม็ดทรายบางส่วนที่จมอยู่ใต้ผิวกลายเป็นแงมุมดันเนื้อขององค์พระให้นูนเป็นตุ่มแหลมเล็กๆ อยู่ทั่วองค์พระ ต้องใช้แว่นขยายส่องดูโดยเฉพาะพระที่ไม่ผ่านการใช้เลยจะสังเกตเห็นได้ชัดเราเรียกว่า “ร่องรอยสาก”

• กรรมวิธีการเผาองค์พระของหลวงพ่อปานนั้นใช้แกลบมาสุมไฟตอนเผา ทำให้สภาพเนื้อขององค์พระจะมี “ร่องรอยแกลบ” แต่ไม่มากนักเนื่องจากองค์พระใส่ไว้ในบาตรแล้วจึงนำมาสุมไฟสภาพของเนื้อพระที่มีเม็ดทรายเล็กๆ ผสมอยู่เช่นนี้เรียกกันว่า “พระเนื้อแกร่ง” คือ มีเนื้อที่แข็งและแน่นที่สุด ดูจากลักษณะภายนอกจะปรากฏพระเนื้อละเอียดคล้ายเป็นเนื้อดินล้วนๆ แลดูนุ่มนวลแต่ชั้นในก็ต้องมีเม็ดทรายเล็กๆ อยู่โดยทั่วไป บางพิมพ์ที่เป็นพิมพ์หลักๆ เรียกได้ว่า “พระเนื้อพิเศษ” องค์พระจะมีสีคล้ายๆ น้ำตาลปี๊บ พื้นผิวพระค่อนข้างแกร่งทีเดียว ส่วนใหญ่พบในพระหลวงพ่อปานพิมพ์ขี่ปลาเสือ

 

 

 

รอยอุดผงวิเศษ

 

รอยอุดผงวิเศษตามสภาพเดิมตอนสร้างพระ จะเป็นสีเทาของซีเมนต์ผสมกับสีขาวของผงวิเศษ ซึ่งนับเป็นสภาพที่สมบูรณ์และงดงามมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ได้พระไปจะนำไปรักษาโรคบ้างหรือแคะเอาผงวิเศษออกมาตามแต่จะนำไปใช้อย่างไร จึงหารอยอุดผงวิเศษที่คงสภาพเดิมๆ ยากมากในปัจจุบัน

 

 

 

ยันต์ข้างพระประธาน

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์มาตรฐาน ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2460 จะมีลักษณะยันต์ข้างพระประธานแบ่งออกเป็น 5 แบบหลักๆ คือ

1. ยันต์ตั้ง ยันต์นี้จะอยู่ด้านบนขององค์พระด้านซ้ายมืออ่านจากบนลงล่าง “อุ มะ” ด้านขาวมืออ่าน จากบนลงล่าง “อุ อะ” ยันต์แบบนี้จะพบมากที่สุด

2. ยันต์แถวเดียว ยันต์นี้จะอยู่ในแนวนอนทั้งด้านซ้ายและด้านขวา แวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องจึงเรียกกันว่า ยันต์แถวเดียว ด้านซ้ายมืออ่านว่า “มะ อะ” ด้านขวามืออ่านว่า “ อุ อะ”

3. ยันต์กลับ เหตุเป็นเพราะช่างแกะแม่พิมพ์ตัวยันต์กลับด้าน มักพบยันต์แบบนี้ในพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่หนุมานใหญ่และพิมพ์ขี่ปลาจีน

4. ยันต์ผสม ลักษณะจะเป็นยันต์ตั้งและยันนอนผสมกัน พบเห็นกันในพระหลวงพ่อปานพิมพ์ขี่ปลาหมอ ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นนัก ยันต์แถวนอนด้านซ้ายอ่านว่า “มะ อะ” ด้านขวาอ่านว่า “อุ อะ” ส่วนยันต์ตั้งจะอ่านว่า “อุ อะ” และ “มะ อุ”

5. ยันต์แถวตั้งพิเศษ ยันต์แบบนี้เป็นแบบเดียวกับยันต์ตั้ง แถวซ้ายอ่านว่า “มะ อุ” พบเห็นในพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่ครุฑกลางอุล่าง

ส่วนอีกแบบหนึ่งตัว “อุ” กลับขึ้นด้านบน ด้านซ้ายจึงอ่านว่า “อุ อะ” และด้านขวาอ่านว่า “อุ มะ” อย่างไรก็ตาม ยันต์บนองค์หลวงพ่อปาน พิมพ์มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นยันต์ในรูปแบบใดก็คือ หัวใจ พระไตปิฎก “ตรีเพชร” อันมีตัว “มะ อะ อุ” นั่นเอง

 

 

ลักษณะพิมพ์ทรง

 

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์มาตรฐาน หรือพิมพ์นิยม ซึ่งเป็นที่นิยมเล่นหากันในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง นั้น แบ่งแยกเป็นพิมพ์หลักๆ ได้ทั้งหมด 6 พิมพ์ ตามชนิดของสัตว์ในนิมิตทั้ง 6 ชนิด คือ พิมพ์ขี่ไก่ พิมพ์ขี่ครุฑ พิมพ์ขี่หนุมาน พิมพ์ขี่ปลา พิมพ์ขี่เม่น และพิมพ์ขี่นก ในปัจจุบันบางท่านกล่าวว่า “ขี่” เป็นภาษาที่ไม่สุภาพให้เปลี่ยนเป็น “ทรง” แทน

พิมพ์หลักๆ ของพระหลวงพ่อปานทั้ง 6 พิมพ์นี้ยังแยกย่อยออกเป็นพิมพ์ต่างๆ อีกค่อนข้างมากที ตัวอย่างเช่น
 

 

 

 

 

1.พิมพ์ขี่ไก่ มีอาทิ
• พิมพ์ขี่ไก่หางพวง ได้รับการยอมรับให้เป็นพิมพ์นิยมอันดับหนึ่ง องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเม็ดบัวชั้นเดียว ตัวไก่จะใหญ่ มีหางเป็นพุ่มลูกนัยตาคมชัดสวยงาม เป็นพิมพ์ที่หาดูไดยาก
• พิมพ์ขี่ไก่หางรวม องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวลักษณะเป็นกลุ่มยาว แยกไม่ออกว่าเป็น 2 หรือ 3 ชั้น ตัวไกคล้ายกระจับที่นำมาต้มรับประทาน ด้านล่างจะมีเส้นขนเป็นเส้นๆ ปรากฏชัดเจน
• พิมพ์ขี่ไก่หาง 3 เส้น องค์พระประธานประทับนั่งบน ฐานบัวเม็ดแถวเดียว ตัวไก่มีหงอนลักษณะคล้ายอยู่ในท่านั่งหางเป็น 3 เส้น
• พิมพ์ขี่ไก่หาง 4 เส้น หรือพิมพ์ขี่ไก่หางแฉก
• พิมพ์ขี่ไก่ หาง 4 เส้น บัว 2 ชั้น ตรงหางไก่จะมี 2 เส้นสั้น 2 เส้นยาวและค่อนข้างโค้ง
• พิมพ์ขี่ไก่ยันต์แถวเดียว
• พิมพ์ขี่ไก่หาง 5 เส้นเป็นต้น

 

2. พิมพขี่ครุฑ “ครุฑ” ในตำนานศาสนาพราหมณ์ถือกันว่าเป็นเจ้าแห่งนก เป็นสัตว์ที่มีอำนาจมากการแกะแม่พิมพ์สวยงดงามอ่อนช้อยมากมีอาทิ
• พิมพ์ขี่ครุฑใหญ่ องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเส้นเดียว ตัวครุฑมีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์อื่นๆ มีลักษณะคล้ายครุฑหลวงของทางราชการ
• พิมพ์ขี่ครุฑผีเสื้อ องค์พระประทับนั่งบนฐานเม็ดบัว 2 ชั้น ปีกเป็นเส้นพลิ้วปลายแหลมลักษณะคล้ายๆ ผีเสื้อมาก
• พิมพ์ขี่ครุฑเล็ก องค์พระประทับนั่งบนฐาน ตัวครุฑคล้ายกำลังกำหมัด ปีกโค้งปลายแหลม

 

 

 

3. พิมพ์ขี่หนุมาน ลักษณะการแกะแม่พิมพ์สวยงามไม่แพ้พิมพ์ขี่ครุฑ แสดงถึงความประณีตบรรจงของช่าง สื่อให้เห็นความอลังการ ความเข้มขลังของ “หนุมาน” ซึ่งหมายถึงพญาลิงผู้มีอิทธิฤทธิ์ มีอาทิ
• พิมพ์ขี่หนุมานใหญ่ รายละเอียดต่างๆ ขององค์พระคมชัดงดงาม หนุมานแสดงอาการแบกประคองพระประธานสมส่วนเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
• พิมพ์ขี่หนุมานหาวเป็นดาวเดือน หนุมาน จะอยู่ในอาการเหินหาว ชายผ้ายาว มองดูเข้มขลังไปอีกแบบ พิมพ์นี้ไม่คอยพบเห็นมากนัก สนนราค่าค่อนข้างสูง
• พิมพ์หนุมานแบกแท่น หนุมานแสดงท่าเหาะเหิน มือ 2 ข้างแบกแท่นอาสนะฐาน 3 ชั้นไว้จุดสังเกตยันต์บนองค์พระประธานเป็นแนวตั้ง
• พิมพ์หนุมานแบกแท่นยันต์แถวเดียวลักษณะอาการเดียวกับพิมพ์ขี่หนุมานแบกแท่น แต่ยันต์บนองค์พระเป็นยันต์แบบแถวเดียว
 

 

 

 

4. พิมพ์ขี่ปลา มีอาทิ
• พิมพ์ขี่ปลาเสือ องค์พระประธานจะค่อนข้างอวบอ้วน ลักษณะคล้ายนั่งอยู่ในพาน พระเกศคล้ายหมวกฤาษี อักขระยันต์เป็นตัวใหญ่หนาและนูนสูง ตัวปลาแผ่กางครีบและหาง หันหัวไปทางต้านขวาของพระประธาน
• พิมพ์ขี่ปลากัด องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ตัวปลาแผ่ครีบและหางตลอดจนตะเกียบใต้ท้อง หันหัวไปทางด้านซ้ายขององค์พระ
• พิมพ์ขี่ปลาจีน พระพิมพ์นี้รายละเอียดเส้นแสงกลมกลืนสวยงาม ทั้งตัวปลา ครีบ และหางตลอดจนเส้นอักขระยันต์ จุดสังเกตสำคัญคือ จะมีซุ้มครอบแก้วล้อมรอบองค์พระประธาน และการตัดขอบส่วน มักติดชิดเส้นซ้อมครอบแก้ว ทำให้อักขระตัว “อุ” ทั้ง 2 ข้างปรากฏเด่นชัด
• พิมพ์ขี่ปลาหมอ เป็นพิมพ์ที่ค่อนข้างหาดูได้ยากพิมพ์หนึ่ง มีทั้งแบบยันต์กลับและ
ยันต์ผสม

 

 


 

 

5. พิมพ์ขี่เม่น มีอาทิ
• พิมพ์ขี่เม่นบัว 2 ชั้น 7 จุด ตัวเม่นจะค่อนข้างอวบอ้วน องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด 2 ชั้น นับได้แถวละ 7 จุด
• พิมพ์ขี่เม่นบัว 2 ชั้น 8 จุด พิมพ์นี้ตัวเม่นจะผอม องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด 2 ชั้น นัดได้แถวละ 8 จุด
• พิมพ์ขี่เม่นฐานบัวโค้ง องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวซึ่งเรียงเป็นเม็ดรองรับองค์พระได้อย่างงดงาม
• พิมพ์ขี่เม่นฐานชั้นเดียว องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด มีเส้นขีดเชื่อมคร่อมเม็ดบัว ตัวเม่นอยู่ในอาการย่างก้าวเดิน
นอกจากนี้ยังมีพิมพ์ขี่เม่นมังกร, พิมพ์ขี่เม่นกระโดด, พิมพ์ขี่เม่นเล็ก, พิมพ์ขี่เม่นหัวกลับ ฯลฯ

 

 


6. พิมพ์ขี่นก มีอาทิ
• พิมพ์ขี่นกปางมารวิชัย (ฐานบัวชั้นเดียว) องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัว 9 เม็ดมีเส้นขีดใต้ฐาน
• พิมพ์ขี่นกฐานสามชั้น องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเขียง 3 ชั้น
• พิมพ์ขี่นกฐานบัวหรือเรียกกันว่า “บัวฟันปลา” ลักษณะบัวจะเป็นเส้นขีดผสม
• พิมพ์ขี่นกฐานสายบัว พิมพ์นี้หาดูค่อนข้างยาก จุดสังเกตที่ใต้พระเพลาของพระ
ประธานจะมีเส้นยาวสยายลงมาจรดฐานบัวเหนือตัวนก และตัวนกค่อนข้างจะผอมกว่าพิมพ์อื่นๆ


 

@--------------------- ขอบคุณครับ ---------------------@ ---------

เพื่อนๆท่านใดสนใจโทรติดต่อด่วนครับ ---------

--------------- พร บางระจัน 081-7842076 -----------------

 

THAILAND AMULET CENTER |SING BURI OFFICE
19 หมู่ 4 ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน  จังหวัดสิงห์บุรี
 Tel: 66-061-7919125,66-093-3361995  whatapp:0933361995
http://www.buddhism-amulet.com/   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
 Tel: 66-061-7919125,66-093-3361995  whatapp:0933361995
http://www.buddhism-amulet.com/   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook