TRAVEL TOOLS

 

id7500003000070


 


 

 

 

หลวงพ่อเกษม ปี 2535 ด้านหลังเป็นรูปล็อกเก็ต 

รหัสสินค้า: 000013

ราคา: 50,000.00 บาท

รุ่น: หลวงพ่อเกษม ปี 2535 ด้านหลังเป็นรูปล็อกเก็ต
ยี่ห้อ: หลวงพ่อเกษม ปี 2535 ด้านหลังเป็นรูปล็อกเก็ต
 

รายละเอียด:

พ่อเกษม ปี 2535 ด้านหลังเป็นรูปล็อกเก็ต มรเส้นเกษาท่านด้วย
มีใว้ติดตัวไม่ต้องกลัวภัย
พระอริยสงฆ์ แห่งสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง หลวงพ่อ เกษม เขมโก ได้แสดงสัจจธรรมให้พวกเราได้ประจักษ์ ถึงความเป็นอนัตตา เป็นความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร มี เกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีตาย หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้จากพวกเราไปแล้ว เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 เวลา 19.42 น. จนถึงขณะนี้เป็นเวลาถึง 8 ปี ขณะที่พลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้เขียนได้พึ่งพาใบบุญของหลวงพ่อตลอดเวลา ร่วมงานวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อเกือบทุกปี ได้ทานอาหารที่มีผู้จัดให้รับประทาน ตลอดจนรักษาข้าพเจ้าให้หายจากโรคประจำตัวทางกระแสจิต โดยรักษาทางความฝัน และข้าพเจ้าได้หายจากโรคที่เป็นอยู่จนถึงปัจจุบัน

นับว่าข้าพเจ้ามีบุญกุศลอยู่บ้างที่ได้พบและได้พึ่งใบบุญของหลวงพ่อ มีมากมายที่ข้าพเจ้าได้พึ่งพา ไม่ว่าความทุกข์จะหนักหนาสาหัสหรือเล็กน้อย ข้าพเจ้าก็พึ่งหลวงพ่อตลอด บ้างครั้งไม่มีเงินทานข้าว ไม่มีเงินใช้หนี้ บางครั้งเจ็บป่วยไม่มีเงินรักษา ก็นึกถึงพลวงพ่อตลอดมา ถ้ามีเรื่องเดือนร้อนจุดธูป ระลึกถึงหลวงพ่อ ขอพรก็จะไ้ด้ตามที่ขอตลอดมา

ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง วัตถุมงคลของหลวงพ่อ ซึ่งมีการสร้างมากมาย แต่ที่จัดว่าเป็นสุดยอดของวัตถุมงคล ได้แก่ชุดเบญจบารมี อันประกอบด้วยวัตถุมงคล ดังนี้.-

1. เหรียญพิชัยมงคลรุ่นแรก (พ.ศ.2513 )
เหรียญนี้ จัดว่าเป็นยอดนักในทางพิชิต หรือทำลายอุปสรรคทั้งมวล ผู้ใดไม่อยากให้ชีวิตเต็มไปด้วยความมืดมน พ้นจากการรบกวนของนานาอุปสรรค เหรียญนี้สร้างเมื่อพระครูพิชัยมงคลเจ้าอาวาสวัดพิชัย จังหวัดลำปาง ถึงแก่มรณภาพลง โดยที่พระครูองค์นี้ท่านเคยเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเกษม ในด้านการสอนหนังสือไทยล้านนาให้ หลวงพ่อจึงจัดสร้างเหรียญ "พิชัยมงคล"ขึ้นจำนวน 3,000 เหรียญ เป็นเหรียญทองแดง รูปไข่

2. เหรียญคะตึกเชียงมั่น (ปลาย พ.ศ.2513)
เหรียญนี้นับเป็นเหรียญอันดับสองของชุด "เบญจบารมี" ซึ่งมีบารมีทางด้านปลูกฝังหลักฐานมั่นคง

3. เหรียญทางเหลียว ( พ.ศ.2514)
มูลเหตุการสร้างก็เพื่อหาทุนสร้างโบสถ์วัดนางเหลียว (นางแหงะ) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เหรียญเป็นรูปหลวงพ่อเกษมยืนประสานมือ ฝีมือในการสร้างดูไม่ค่อยจะประณีตเรียบร้อยเท่าที่ควร ทว่าลึกซึ้งลงไปในทุทธานุภาพของเหรียญนางเหลียวแล้ว มหาศาลจริง ๆ หากท่านผู้อ่านรู้จักพระนางพญาและรู้ว่ามีคุณวิเศษสูงทางไหน ถ้ารู้แล้ว เหรียญทางเหลียวก็มีอนุภาพสูงส่งดุจเดียวกัน

4. พระผงทรงระฆังเสาร์ 5 (พ.ศ.2515)
เป็นพระผงที่มีมวลสารมาก ถึง 9 ชนิด อันประกอบด้วย เกษา,ก้านธูป,น้ำผึ้ง,น้ำมันตังอิ้ว,ปูนซีเมนต์ขาว,แก้าโป่งข่าม และกล้วยน้ำหว้่า

5.เหรียญสิริมงคลทรงระฆัง 
เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญสุดท้ายในชุด "เบญจบารมี" ซึ่งมีบารมีในด้านโชคลาภ บันดาลความรุ่งเรือง

กรรมอันใด อันจักพึงเกิด จากการกล่าวถึง หลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งอาจจะเกิดกรรมอันพึงตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี หรือจักเกิดจากกรณีใดกรณีหนึ่งจากที่ไม่อาจพึงรู้ก็ดี ขอความเมตตาจากหลวงพ่อได้โปรด อโหสิกรรม นั้น ให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ

 

พระเกษม เขมโก

(เจ้าเกษม ณ ลำปาง เขมโก)
หลวงพ่อเกษม

หลวงพ่อเกษม.jpg

เกิด

28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455

อุปสมบท

พ.ศ. 2475

มรณภาพ

15 มกราคม พ.ศ. 2539

พรรษา

64

อายุ

83

วัด

สุสานไตรลักษณ์

จังหวัด

ลำปาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ที่ออกผนวชอีกด้วย

ประวัติ

หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก

 

THAILAND AMULET CENTER |CHIANGMAI OFFICE
211/45 the City Villa, Soi Ladprao 126
Ladprao Rd, Kwang Prapla,Wang Thong Lang district
Bangkok 10310 Mobile :66-093-3361995     e-mail:amuletcenter@hotmail.com
พระเครื่องเมืองสยาม| โดย พร บางระจัน:
236/2 หมู่ 5 ,ถนน เชียงใหม่ ลำพูน ,ตำบลยางเนิ้ง,อำเภิสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
Tel: 66-053-963029,66-093-3361995  Fax : 66-53-963029
Mobile : 66-093-3361995   e-mail:amuletcenter@hotmail.com
Copyright © 2006 Thailand Amulet Center. Website Terms of Use   |   Privacy Statement Find us on Youtube Facebook