@@ ยันต์จืน (ตะกรุดโทนตะกั่ว)
หลวงปู่ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ ลำพูน
หายากกกกก @@@ ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ
ท่านเป็นศิษย์สายครูบาเจ้าศรีวิไชยอีกรูปหนึ่ง
ที่คอยอุปฐากรับใช้ครูบาเจ้าศรีวิไชย และ
ยังช่วยครูบาเจ้าไปบูรณะวัดวาอารามต่างๆมากมาย
ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีศรัทธาญาติโยมเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก
ลักษณะของตะกรุดโทนดอกนี้เป็นเนื้อตะกั่ว
และตะกั่วที่ท่านเอามาทำตะกรุดนั้น
ได้เอาจากหลังกระจกสีที่ใช้
ติดตามหน้าบรรณวิหาร และ ตามเจดีย์ในสมัยก่อน
เมื่อชำรุดตกหล่นลงมาท่านจึงได้นำเอามาทำเป็นตะกรุด
ไว้แจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ลูกหา
"หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ"
พระครูถาวรวัยวุฒิ (หลวงปู่ครูบาอินตา
อินฺทปัญฺโญ)
วัดห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ
อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ
วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘
เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่
๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ
ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ
นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี
เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง
มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ
ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้
๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า
เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน
เด็กชายอินตา
จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม
และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี
พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ
โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้
หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด
สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน)
อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส
(ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้ามากได้ปรมัติสูญสตาอรรถพยัญชนะทรงอภิญาชั้นสูง)เป็นอาจารย์ผู้สอนให้
ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น
อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น
เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ
พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน
เป็นพระอุปัชฌาย์(เป็นศิษย์ครูบาหลวงวัดฝายหิน
จบสตาปรมัติรู้ภาษานกกาได้ เจนจบ 9 มัด)
พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)
เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”
หลัง
จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา
ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน
ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในเรื่องของวิชาพลังจิตที่สูงมากตลอดถึงในวิชาอาคมแขนงต่างๆ
ประกอบกับการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระควบคู่กันไประหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑
ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก
หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี
วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์
หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ
เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน
เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ
ผ้าขาวดวงต๋า
ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม
เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ
หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย
ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส
ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด
โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี
จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป
หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ
เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙
และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น
พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖
ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ
สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ
พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง
สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย
โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์
ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน
นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา
อนุเคราะห์จากท่าน เช่น
ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน
อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง
วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่
วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ
พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ
ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ
และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ
ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕
เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี
๗๗ พรรษา
พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี
ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ครูบาธรรมชัย
วัดประตูป่า ครูบาสิริ วัดปากกองสารภี(ครูบาผีกลัว)ครูบาแก้ว
สันกำแพงครูบาดวงทิพย์ วัดสันคะยอม(เป็นพระที่ครูบาพรหมาจักรนับถือมากๆ)
ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์
วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง
ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย
วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์
วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง
สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ
หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย
ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด
เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน
เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐
ขึ้น
สำหรับวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาอินตา
ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา
ไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือเป็นที่
ต้องการกันมากทำให้ทำแจกแทบไม่ทัน
ยุคต่อๆมาเมื่อท่านชราภาพก็ให้ลูกศิษย์ที่พอมีความรู้เป็นผู้ทำให้โดยใช้
ตำราของท่านแล้วให้หลวงปู่ครูบาอินตาเสกเป่าอีกครั้ง
ลักษณะของตระกุดจะมีดอกเดียวที่เรียกกันว่าตระกุโทนโดยใช้ตะกั่วทำ
ตะกั่วนั้นได้จากหลังกระจกสีที่ใช้ติดตามห้าบรรณวิหารและตามเจดีย์ในสมัย
ก่อนเมื่อชำรุดตกหล่นลงมาท่านจึงได้นำมาทำเป็นตระกุด
ต่อมาศิษย์จึงได้ขอนุญาติจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓
และอีกหลายๆรุ่นในเวลาต่อมา ทั้งเหรียญ
รูปหล่อลอยองค์ รูปเหมือนบูชาขนาดต่างๆ
ล็อกเก็ต พระผง
วัตถุมงคลรุ่นต่างๆที่ท่านได้อธิฐานจิตปุกเสกเอาไว้ก็มีอิทธิปาฏิหาริย์จน
เป็นที่ลำลือเช่นกันและได้รับความนิยมมาก
เหรียญใบโพธิ์ รุ่นสมปรารถนา แซยิด ๙๑
พ.ศ.๒๕๓๘
หนึ่งในเหรียญประสบการณ์ที่โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาดคงกระพัน
มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่ามีเด็กวัยรุ่นถูกคู่อริไล่ยิงและถูกยิงจนเสื้อที่
สวมนั้นขาดเป็นรอยลูกกระสูนรูพรุน
แต่ลูกกระสูนไม่ได้ผ่านเข้าผิวแค่เป็นรอยจุดแดงซ้ำเป็นยางบอนเจ็บๆแสบๆเท่า
นั้น
ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ที่เข้าไปช่วยเหลือขอดูของดีที่วัยรุ่นคนนั้นพกติดตัว
ที่คอของเขามีเพียงเหรียญใบโพธิ์ของครูบาอินตาเพียงเหรียญเดียว
ทำให้เหรียญรุ่นดังกล่าวเป็นที่แสวงหากันมาก
นี้เป็นเพียงแค่หนึ่งในประสบการณ์ของวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตาที่มี
อยู่มากมายหลายต่อหลายครั้ง
อัฐิธาตุที่แปรเปลี่ยนเป็นผลึกพระธาตุแล้วของหลวงปู่ครูบาอินตา
อินทปัญโญ
เอกองค์พระอาจารย์ที่ให้ดวงกรรมฐานกับครูบากฤษดา
ตั้งแต่เป็นสามเณร
ที่ท่านสามารถปราบความคิดที่อยากรู้อยากเห็น
ซุกซนโลดเเล่นแก่นแก้วสามารถดักทางความคิดจิตของครูบากฤษดา
ได้ทั้งหมดตั้งแต่เป็นสามเณรร่ำเรียนอยู่ในสำนักวัดห้วยไซใต้
ถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกครับ
และก็มีครูบาชัยวงค์ได้ไปกราบคารวะสนทนาเป็นบางครั้งคราว
และมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ครูบากฤษดาเทิดเหนือหัวคือหลวงปู่พิสดู
ธัมมจารี เป็นที่สุดครับ